Saturday, June 18, 2016

8 ทักษะทางดิจิตอลที่พวกเราจะต้องสอนลูกหลานของเรา!!!

8 ทักษะทางดิจิตอลที่พวกเราจะต้องสอนลูกหลานของเรา!!! 

โดย อาจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ สร้อยคีรี

ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีและดิจิตอลมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันมาก ผู้ใดมีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและเข้าใจในโลกดิจิตอลจะได้เปรียบและมีโอกาสมากกว่าแต่ก็ควรรู้เท่าทันทั้งเทคโนโลยีและรูปแบบข้อมูลดิจิตอลไม่ให้เป็นทาส ใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางดีที่สร้างสรรค์ ซึ่ง 8 Keyword นี้จะช่วยทำให้ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์มีแนวทางการดูแลและส่งเสริมเด็กในยุคนี้ เรียกโดยรวมว่าปัญญาทางด้านการใช้เทคโนโลยี Digital intelligence หรือเรียกง่ายๆว่า “DQ” อาจจะเป็นปัญญาที่ต่อยอดมาจาก Multiple Intelligences ของ Howard Gadner
‪#‎Digital_identity‬: ทักษะในการสร้างข้อมูลเพื่อเผยแพร่ตัวตนทั้งตนเองและบนสารสนเทศออนไลน์ในลักษณะเป็นผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ เช่นการทำ Portferio ต่างๆ
‪#‎Digital_use‬: ทักษะในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเช่น Smart Phone, Tablet, Computer เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันเช่น การเดินทาง การติดต่อสื่อสาร การบันทึกข้อมูลที่สำคัญ
‪#‎Digital_security‬:ทักษะในการระมัดระวังการโดนขโมยข้อมูลที่สำคัญ และป้องกันข้อมูลจากไวรัส โทรจัน มัลแวร์ การจัดเก็บข้อมูลไม่ปลอดภัย และอื่นๆ
‪#‎Digital_safety‬: ทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยทั้งตนเองและผู้อื่น การเผยแพร่ข้อมูลตนเองที่อาจเกิดอันตรายเช่นการแชร์ที่อยู่ หรือ ข้อมูลประวัติตนเอง ภาพส่วนตัวที่ล่อแหลม การเข้าถึงข้อมูลหรือเผยแพร่ข้อมูลที่อาจไปสู่ความรุนแรง
‪#‎Digital_emotional_intelligence‬: ทักษะการควบคุมอารมณ์ตนเอง ในสภาวะปัจจุบันที่มีความรวดเร็วและเร่งรีบในปัจจุบันทำให้เด็กขาดการใครครวญและใจจดใจจ่อ หรือขาดสมาธิ ฉะนั้นการเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีจึงจำเป็นจะต้องรู้จักอารมณ์ตนเองไม่ให้มีความโกรธ หรือหยุดการใช้อารมณ์รุนแรงให้เร็วที่สุด เช่น การโพสเสียดสีว่ากล่าวบุคคลอื่น การเล่นเล่นแบบSocial แล้วเกิดอารมณ์รุนแรง ต้องเข้าใจในสภาพอารมณ์ตนเองขณะอยู่ในโลกดิจิตอลตลอดเวลาซึ่งผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์จะต้องสังเกตุและช่วยเหลือบุตรหลาน ลูกศิษย์ท่าน
‪#‎Digital_communication‬: ทักษะการติดต่อสื่อสารโดยการใช้เทคโนโลยีนับเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่เด็กจะต้องใช้เทคโนโลยีให้ถูกวิธีเช่น การ Video Call หาพ่อแม่ การส่งข้อความทั้งภาพและเสียง ซึ่งจำเป็นในยุคปัจจุบันที่ต่างจากสมัยก่อนที่เป็นทางเสียงหรือข้อควาเพียงอย่างเดียว
‪#‎Digital_literacy‬: ทักษะความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ที่สร้างสรรค์สูงสุดของตนเอง เทคโนโลยีจะช่วยทำให้เด็กหาคำตอบในปัญหาที่ต้องการแก้ในทันทีทันใด ถ้าใช้ถูกต้องและเป็น เช่นการหาวิธีการทำอาหาร การหาข้อมูลเชิงลึกด้านโภชนาการประโยชน์ของอาหาร การหาข้อมูลก่อนการปฏิบัติการทำอาหารเอง เทคโนโลยีจะทำให้เด็กสามารถเข้าถึงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเป็นรากฐานในการปฏิบัติต่อไป
‪#‎Digital_rights‬: ทักษะการเคารพสิทธิของผู้อื่นๆทั้งทางด้านข้อมูลทั่วไปที่ถูกเผยแพร่ การให้เครดิต การอ้างอิง หรือแม้กระทั่งการเคารพสิทธิผู้อื่นทางโลก Social จะเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเริ่มต้นพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่ให้เกียรติผู้อื่น

(‪#‎สุดท้ายแล้ว‬...เทคโนโลยีสูงหรือ ‪#‎High_Technology‬ มนุษย์ก็จะต้องมีจิตใจที่สูง วุฒิภาวะ ความรู้(Knowledge) ทัศนคติที่ดี(Attitude) และทักษะ(Skills)ตามไปด้วยถึงจะสมดุล ‪#‎Equilibrium‬)

Monday, June 6, 2016

ตัวอย่างห้องเรียนในศตวรรษที่ 21...(21st Century Classroom)

ตัวอย่างห้องเรียนในศตวรรษที่ 21...(21st Century Classroom) ถ้าใครจัดห้องแบบเดิมๆ แสดงว่ายังจัดห้องตามศตวรรษ 19-20 นั่นคือ 100-200 ปี ก่อนเลยที่เดียวนะครัชช!!! โดย อาจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ สร้อยคีรี


แล้วทำ 10 สิ่งเหล่านี้ในห้องเรียน# ไปโล้ดดดแน่#  โดย อาจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ สร้อยคีรี
1.Technology Integration (บูรณาการเทคโนโลยี)
2.Collaborative environment (สภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกัน)
3.Opportunities for creative expression (โอกาสในการแสดงออกความคิดสร้างสรรค์)
4.Inquiry based approach (วิธีการสืบเสาะแสวงหาความรู้เชิงลึก)
5.Justification for answers (การให้สิทธิ์เท่าเทียมกันด้านเหตผล)
6.Writing for reflection (การเสนอ feed back)
7.Use of a problem solving methodology (การใช้วิธีการแก้ปัญหา)
8.Hands-on learning (งานฝีมือ)
9.Teacher as facilitator (ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกไม่ใช่สอนหนังสืออย่างดี)
10.Transparent assessment (แสดงถึงการประเมินอย่างโปร่งใส)




















อ้างอิงข้อมูล http://www.edutopia.org/discussion/10-signs-21st-century-classroom
อ้างอิงรูปภาพ https://goo.gl/eLPWHe